ชื่อสมุนไพร

เมื่อยขาว

ชื่ออื่นๆ

ม่วยขาว (อุบลราชธานี), มะม่วย (เชียงใหม่) ม่วย (เชียงราย อุบลราชธานี) แฮนม่วย (เลย) แฮนเครือ มะเมื่อย ม่วยเครือ

ชื่อวิทยาศาสตร์

Gnetum montanum Markgr

ชื่อพ้อง

 

ชื่อวงศ์

Gnetaceae

 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
              ไม้เถาเนื้อแข็ง หรือไม้พุ่มรอเลื้อยขนาดใหญ่ สูง 5-10 เมตร แตกกิ่งก้านมาก เปลือกต้นสีน้ำตาลปนดำ เปลือกนอกแตกเป็นสะเก็ด กิ่งเป็นข้อต่อกัน และบริเวณข้อพองบวม ใบเดี่ยว  เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปไข่ถึงรูปขอบขนานแกมรูปไข่ มีขนาดแตกต่างกันมาก กว้างประมาณ 5-6 เซนติเมตร ยาวประมาณ 13-16 เซนติเมตร เนื้อใบหนาและเหนียวคล้ายแผ่นหนัง เมื่อแห้งสีออกดำ ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบกลม มนหรือแหลม ขอบใบเรียบ เส้นใบโค้ง เส้นใบ 6-8 คู่ ก้านใบยาว 1-1.5 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อเชิงลดที่ปลายยอดและตามลำต้น ช่อดอกแตกแขนงมากและมีดอกย่อยจำนวนมาก แยกเป็นช่อดอกเพศผู้และเพศเมีย  สร้างโคนหรือสตรอบิลัส ออกเป็นช่อแกน มีลักษณะเป็นกลุ่ม เรียงเป็นชั้นๆตามซอกใบ มีสีเขียวปนเหลือง โคนเพศผู้และโคนเพศเมียแยกเพศ อยู่บนต้นเดียวกัน โคนตัวผู้เป็นช่อเชิงลด แตกแขนง ออกที่ปลายยอดหรือตามลำต้น กว้างประมาณ 0.4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3 เซนติเมตร ก้านของโคนยาว 0.5-2.4 ซม. ก้านของโคนย่อยยาว 0.5-1.0 ซม. โคนย่อยรูปทรงกระบอก กว้าง 4-5 มม. ยาว 3.5-4.2 ซม. โคนและปลายมน สีเขียว มีขนสั้นๆ จำนวนมากและหนาแน่น แต่ละโคนมี 8-15 ชั้น แต่ละชั้นมีเกสรเพศผู้ 8-25 อัน เรียงเป็นวงรอบข้อ ยาว 0.5-1.5 มม. สีเหลืองหรือขาวอมเหลือง อับเรณูสีขาว มีก้านชูเกสรเพศผู้รูปทรงกระบอก ยาวประมาณ 1 มม. โคนเพศเมีย แตกแขนง ก้านของโคนยาว 1.7-4.9 ซม. แต่ละโคนมี 6-14 ชั้น แต่ละชั้นมี 1-8 เมล็ด มีขนเล็กน้อย ก้านของโคนย่อยยาว 1-3 มม. เมล็ดรูปกระสวย กว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาว 1.5 เซนติเมตร โคนและปลายมน เกลี้ยง เมล็ดไม่มีผลห่อหุ้ม จะมีกลีบนุ่มคล้ายหนังหุ้มอยู่ เมื่อยังอ่อนสีเขียวเมื่อแก่สีชมพูแดง ก้านเมล็ดสั้น ยาว 1-2 มม. เกลี้ยง พบตามป่าดิบแล้ง ช่วงการออกดอกเพศผู้เดือนมกราคมถึงมีนาคม ระยะการออกดอกเพศเมียและติดเมล็ด ราวเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม
 

Submit to FacebookSubmit to Google PlusSubmit to TwitterShare with friendsPrint this page

Facebook Like