ชื่อสมุนไพร |
งิ้วป่า |
ชื่ออื่นๆ |
นุ่นป่า งิ้วป่าดอกขาว งิ้วดอกขาว ไกร งิ้วผา (เหนือ) ง้าวป่า (กลาง) งิ้วขาว |
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Bombax anceps Pierre. |
ชื่อพ้อง |
|
ชื่อวงศ์ |
Bombacaceae |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ต้น ผลัดใบ สูงถึง 30 เมตร เมื่อต้นยังเล็กเรือนยอดจะเป็นชั้นๆ เมื่อโตเต็มที่ ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดด้านบนจะแบน เปลือกสีเทา มีหนามตามแข็งตามลำต้นมากมายโดยเฉพาะต้นอ่อน และกิ่งก้าน และจะลดลงเมื่อโตขึ้น กิ่งก้านยังคงมีหนาม ใบประกอบแบบนิ้วมือ เรียงสลับเวียนเป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง ใบย่อย 5-7 ใบ แผ่นใบรูปใบหอกหรือรูปไข่ กว้าง 3-6 เซนติเมตร ยาว 7-15 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ ก้านใบย่อยยาว 0.5-1.8 เซนติเมตร ก้านใบรวมยาว 10-17เซนติเมตร ก้านใบรวมยาวเท่าๆกับใบย่อย ดอกเดี่ยว มีขนาด 6.5-8 เซนติเมตร สีขาวครีมแกมม่วง ออกเป็นกลุ่ม 2-4 ดอก กระจายทั่วเรือนยอดที่กำลังผลัดใบ กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง มี 2-4 พู สีเขียวสด เชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยบนฐานดอกที่แข็ง กลีบดอกโค้งงอไปด้านหลังปิดส่วนของกลีบเลี้ยง กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว มีขนละเอียดด้านนอก เกสรตัวเพศผู้มีเป็นจำนวนมาก ประมาณ 250-300 อัน มีสีขาวเชื่อมติดกันเป็นกลุ่มๆ แยกเป็น 5 กลุ่ม และเชื่อมเป็นหลอด ด้านล่างห่อหุ้มก้านเกสรตัวเมีย เกสรเพศเมียสีชมพูอมม่วงมีอันเดียว ปลายแยกเป็น 5 แฉก ซึ่งอยู่ชิดติดกัน ผล รูปทรงกระบอกยาว หรือรูปกระสวย กว้างประมาณ 5 เซนติเมตร ยาว 12-15 เซนติเมตร ขอบขนาน โค้งงอเล็กน้อย มีสันตื้นๆ 5 สัน แห้งแล้วแตกตามรอยตะเข็บ เมล็ดรูปทรงกลมสีดำขนาดเล็ก มีปุยสีขาวห่อหุ้มคล้ายเมล็ดฝ้าย พบทั่วไป แต่ชอบขึ้นในป่าเบญจพรรณที่มีหินปูน ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม ผลให้เส้นใยใช้ทำหมอนและที่นอน