มะหวด

ชื่อสมุนไพร

มะหวด

ชื่ออื่นๆ

สีหวด (นครราชสีมา) กำซำ กะซ่ำ มะหวด (ภาคกลาง) ชันรู มะหวดบาท มะหวดลิง (ภาคตะวันออกเฉียงใต้) กำจำ (ภาคใต้) ซำ (ทั่วไป) นำซำ มะจำ (ภาคใต้) มะหวดป่า หวดคา (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) สีฮอกน้อย หวดลาว (ภาคเหนือ) หวดฆ่า (อุดรธานี)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Lepisanthes rubiginosa (Roxb.) Leenh.

ชื่อพ้อง

Sapindus rubiginosus Roxb.

ชื่อวงศ์

Sapindaceae

 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
             ไม้พุ่มผลัดใบ หรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 15 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาล แตกเป็นร่องตามยาว กิ่งก้านมีขนละเอียด เมื่อยังอ่อนอยู่มีขนสั้นๆ กิ่งแขนงรูปทรงกระบอกเป็นร่อง ทรงพุ่มกลมหรือรูปไข่ ใบเป็นใบประกอบแบบนนกปลายคู่ เรียงเวียนสลับ แกนกลางใบประกอบยาว 10-30 เซนติเมตร ใบย่อย มี 3-6 คู่ รูปไข่ถึงรูปไข่กลับ กว้าง 2-11 เซนติเมตร ยาว 3-30 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ผิวใบมีขนนุ่มปกคลุมทั้งสองด้าน แผ่นใบบางแต่ค่อนข้างเหนียว และย่นเป็นลอน สีเขียวเข้ม ผิวใบด้านล่างสีอ่อนกว่า ใบอ่อนสีน้ำตาลอมเขียว ดอก สีขาวถึงสีเหลืองอ่อนๆ ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงตั้ง จากปลายยอดหรือซอกใบใกล้ปลายยอด ยาวถึง 50 เซนติเมตร ดอกย่อยขนาดเล็ก สีขาว มีกลิ่นหอมอ่อนๆ แยกเพศ เส้นผ่าศูนย์กลางดอก 0.8-1 เซนติเมตร กลีบดอกสีขาว กลีบดอก 4-5 กลีบ เกลี้ยงหรือมีขนนุ่ม โคนกลีบแคบ มีขนและมีเกล็ดเล็กๆ 1 เกล็ด ที่มีสันนูน 2 สัน เกสรเพศผู้ 8 อัน ก้านเกสรมีขนสีน้ำตาลอ่อน ก้านเกสรตัวเมียยาว ไม่มีขน กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปครึ่งวงกลม กลีบนอก 2 กลีบ เล็กกว่ากลีบใน มีขนด้านนอก ผลสดแบบมีเนื้อ รูปรีเว้าเป็นพู ผิวเกลี้ยง กว้าง 0.5-1 เซนติเมตร ยาว 1.5-2 เซนติเมตร ผลอ่อนสีเขียว แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแดงจนแก่จัดสีม่วงดำ มี 2 พู ผิวเกลี้ยง เปลือกและเนื้อบาง เมล็ดสีน้ำตาลดำ เป็นมัน มี 1 เมล็ด รูปทรงรีแกมขอบขนาน พบตามป่าเต็งรัง และป่าดิบแล้ง ที่ความสูงตั้งแต่ระดับทะเลปานกลางถึง 300-1,200 เมตร ออกดอกราวเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม ติดผลราวเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม

 

Submit to FacebookSubmit to Google PlusSubmit to TwitterShare with friendsPrint this page

Facebook Like