ต้นประดู่ ชื่ออื่นๆ - ประดู่อังสนา, ประดู่บ้าน, ดู่ป่า (เหนือ), อะนอง, ดู่
ลักษณะ
เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่มีความสูงประมาณ 10-25 เมตร ผิวเปลือกลำต้นมีสีดำหรือเทาลำต้นเป็นพูไม่กลม แตกกิ่งก้านสาขากว้าง มีเรือนยอดทึบแตกเป็นสะเก็ดร่องตื้นๆ อ่านต่อ>>>ต้นประดู่
ใบ - เป็นช่อแตกออกจากปลายกิ่ง มีใบย่อยประกอบอยู่ประมาณ 6-12 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปมนรีปลายใบแหลมโคนใบมน ขอบใบเรียบเป็นมันสีเขียว ใบมีขนาดยาวประมาณ 2-3 นิ้ว กว้างประมาณ 1-2 นิ้ว
ดอก - ออกเป็นช่อบริเวณโคนก้านใบหรือปลายกิ่ง ช่อดอกมีขนาดใหญ่ สีเหลือง แต่ดอกเล็ก ส่งกลิ่นหอมไกล ออกดอกก่อนฤดูฝน ดอกจะบานพร้อมกันและโรยพร้อมกัน
ผล - มีขนเล็กๆปกคลุม ขนาดผลโตประมาณ 4-6 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อไม้ ต้มกินแก้ไข้ เสมหะ เลือดกำเดาไหล ใบอ่อนใช้พอกแผลให้แห้งเร็ว แก้ผดผื่นคัน ยางไม้ แก้โรคท้องเสีย เนื้อไม้ประดู่นำไปใช้ในงานก่อสร้างทั้งภายในและภายนอกอาคาร เป็นไม้เนื้อแข็งที่มีความทนทานสูง เนื้อไม้มีสีสวยงาม สีแดงอมเหลืองถึงสีแดงอิฐเข้ม มีเส้นสีแก่กว่าสีพื้น เสี้ยนสนเป็นริ้วไสกบตบแต่งชักเงาได้ดี จากการเปรียบเทียมกับไม้สักที่ประเทศพม่าพบว่าไม้ประดู่มีความแข็งมากกว่าไม้สัก 2 เท่า และหนักกว่าร้อยละ 24 ค่าความแข็ง 925 กก. และมีความทนทานตามธรรมชาติ (การทดลองฝังดิน) เฉลี่ย 14 ปี ดังนั้นการใช้ไม้ประดู่ในการก่อสร้างจึงเป็นไปอย่างกว้างขวาง ตลอดจนการทำเฟอร์นิเจอร์เครื่องมือเครื่องใช้ ส่วนไม้ขนาดเล็กใช้ทำไม้ปาร์เก้ ไม้ประสานแผ่นชิ้นไม้อัด แผ่นไม้ชุบซีเมนต์ได้ฟืนและถ่านไม้ประดู่ให้ความร้อน 5,022 และ 7,539 แคลอรี่ต่อกรัมตามลำดับ เปลือกไม้ประดู่ใช้ย้อมผ้าได้และให้น้ำฝาดสำหรับฟอกหนังแก่นให้สีดำคล้ำใช้ย้อมผ้า
ประโยชน์ในเชิงอนุรักษ์ ประดู่เป็นไม้เรือนยอดกลมโต แข็งแรงจะช่วยป้องกันลมและคลุมดิน ให้ร่มเย็นชุ่มชื้นและรองรับน้ำฝนลดแรงปะทะหน้าดินน้อยลงประกอบกับระบบรากหยั่งลึกแผ่กว้าง เช่นเดียวกับเรือนยอด จะช่วยยึดดินไม้ให้พังทลายได้ง่ายและรากมีปมใหญ่ ช่วยตรึงไนโตรเจนในอากาศมาเก็บไว้ในรูปไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์ได้อีกด้วย ใบหนาแน่นเมื่อร่วงหล่นผุพัง เพิ่มธาตุอาหารอินทรียวัตถุแก่ดินอย่างมาก
ที่มา : http://www.satitm.chula.ac.th/cudbiomap/plants_pages/pradu.html